โปรแกรมยอดฮิต Hello Java! 2

ชื่อ และ นามสกุล ของโปรแกรมภาษา Java. 2

Compile โปรแกรม. 2

Run ผลลัพธ์ของโปรแกรม. 2

แปลงเป็น Applet 2

การ แสดงผลลัพธ์ Applet (appletviewer, browser) 2

โปรแกรมแรกกับจาวา. 2

สร้าง Java Source File. 2

โปรแกรม Hello, Java. 3

Compile และ Run โปรแกรม. 4

โปรแกรม Applet แรกของคุณ.. 6

Source Code สำหรับ Applet แรกของคุณ.. 6

การแสดงผลลัพธ์ของ Applet 7

บทที่ 3

เขียนโปรแกรมแบบ Step-by-step กับ Java

 

โปรแกรมยอดฮิต Hello Java!

ชื่อ และ นามสกุล ของโปรแกรมภาษา Java

Compile โปรแกรม

Run ผลลัพธ์ของโปรแกรม

แปลงเป็น Applet

การ แสดงผลลัพธ์ Applet (appletviewer, browser)

                หลังจากทำการติดตั้งและทดสอบกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ลองมาสร้างโปรแกรมจาวา หรือ Applet ง่าย ๆ กัน

โปรแกรมแรกกับจาวา

สร้าง Java Source File

            สำหรับการสร้าง Source file มีลักษณะเป็นไฟล์ข้อความเรียบ ๆ ไม่มีรูปแบบซับซ้อน สามารถสร้างขึ้นจากโปรแกรม Text Editor ทั่ว ๆ ไป เนื่องจาก JDK ไม่ได้มี Editor มากให้ในตัว แล้ว save ไฟล์นั้นให้ด้วยนามสกุลจาวา (.java)

                สำหรับคนที่อยู่บนระบบปฏิบัติการ Window สามารถใช้ Notepad หรือ WordPad ที่มีมาให้อยู่แล้ว หรือจะไปหา download โปรแกรม Editor ที่มีประสิทธิภาพในการแยกสี syntax ของโปรแกรมภาษา อาทิเช่น Edit Plus มาใช้ก็จะทำให้ง่ายกับการอ่านโปรแกรมมากขึ้น

ส่วนคนที่ใช้ระบบปฏิบัติการในเครือ UNIX ทั้งหลาย สามารถใช้ VI, Pico ซึ่งเป็นโปรแกรม Editor พื้นฐานเช่นกัน แต่อาจจะยาก ให้ใช้ EMACS ซึ่งเป็นลักษณะคล้าย ๆ กับ Edit Plus บน Window ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

 Note/Tip

                สำหรับคนที่ใช้ NotePad จะพบว่าเมื่อเราต้องการ save ไฟล์ Notepad จะทำการกำหนดนามสกุล .txt ให้กับไฟล์ของเราโดยอัตโนมัติ ดังนั้นสำหรับไฟล์จาวาที่ต้องการนามสกุล .java สามารถทำได้โดยใส่เครื่องหมาย “-” คร่อมลงไปที่ชื่อไฟล์และนามสกุลที่ต้องการจะ save เช่น “MyFirstProgram.java”

รูป 2-7 แสดงการ save ไฟล์ .java ด้วยโปรแกรม Notepad

 

โปรแกรม Hello, Java

            เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักเขียนโปรแกรมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมอะไร ก็มาเริ่ม Hello กันทั้งนั้น (อย่างว่ามันเป็นประเพณี เจอกันครั้งแรกก็ต้องทักทายกันก่อน ทำนองนั้น)

Class Hello {

                Public static void main (String[] arguments) {

                                System.out.println(“Hello, Java”);

                }

}

            ให้ลอก Source Code ข้างบนนี้ลงในไฟล์ แล้ว save ชื่อว่า “Hello.java”

 

Warn

            การเขียนโปรแกรมจาวานั้น ชื่อ คลาส กับชื่อไฟล์จะต้องเหมือนกันทุกประการไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรใหญ่หรือเล็ก ดังที่เห็นจากตัวอย่าง Hello.java ก็มีชื่อคลาสว่า Hello เหมือนกัน

                และต้องมีฟังก์ชันหลัก (main) สำหรับขั้นตอนของการประมวลผลโปรแกรมบรรจุอยู่ด้วย

Compile และ Run โปรแกรม

            หลังจากเขียน Source Code และ Save ไว้ในไฟล์ .java เรียบร้อยแล้ว การคอมไพล์โปรแกรมสามารถทำได้โดยเรียกคำสั่ง ‘javac’ ตามด้วยชื่อไฟล์ ดังนี้

 

 

javac Hello.java

 

 

รูป 2-8 แสดงการ compile คลาส Hello.java และไฟล์ที่เกิดขึ้นมา Hello.class

 

            ซึ่งเมื่อโปรแกรมถูกคอมไพล์สมบูรณ์ไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ จาวาจะสร้างไฟล์ขึ้นมาอีกไฟล์เรียกว่า คลาสไฟล์ (.class) เปรียบเสมือนเป็น execute ไฟล์ ที่ใช้สำหรับดำเนินการสร้างผลลัพธ์ตามที่โปรแกรมถูกเขียน โดยใช้คำสั่ง ‘java’ ตามด้วยชื่อคลาส ดังรูป

 

 

java Hello

รูป 2-9 ทำการรันคลาส Hello และผลลัพธ์ Hello, Java

           

            ตามที่กล่าวมาด้านบน สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมสรุปลำดับขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมจาวาได้ดังนี้

แผนผังแสดงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมจาวา

 

โปรแกรม Applet แรกของคุณ

ความแตกต่างระหว่าง Application กับ Applet ก็คือ Application สามารถประมวลผลได้เดี่ยว ๆ โดยไม่ต้องผ่านโปรแกรม อื่น ๆ ในการช่วยประมวลผลลัพธ์ ในขณะที่ Applet เป็นคลาสที่ถูกประมวลผล (แสดงผล) ผ่าน Browser อีกทีหนึ่ง ให้เปรียบเทียบโดยใช้แผนผังด้านล่าง

แผนผังแสดงขั้นตอนการเขียนจาวา Applet

Source Code สำหรับ Applet แรกของคุณ

ให้คัดลอก Source code ด้านล่าง ทำเหมือนกับขั้นตอนการสร้างโปรแกรมจาวา Hello

 

import java.applet.*;   

import java.awt.*;

 

public class FirstApplet extends Applet {

    public void paint(Graphics g) {

        g.drawString("Hello World", 25, 50);

    }

}

 

            จากนั้นให้คอมไพล์ ให้ได้ คลาสออกมา เหมือนกันกับที่ทำในโปรแกรมจาวา Hello

javac FirstApplet.java

 

รูป 2-10 แสดงการคอมไพล์ FirstApplet.java

 

การแสดงผลลัพธ์ของ Applet

            ปกติแล้วการแสดงผลลัพธ์ของ Applet นั้นไม่ได้เป็นการเรียกคำสั่ง ‘java’ เหมือนเคยอีกแล้ว แต่สามารถทำได้โดยการซ่อนคลาสที่ได้นั้นเอาไว้ภายในเอกสาร HTML แล้วให้ Browser เป็นตัวเรียกอ่านคลาสนั้น ๆ เอง

                HTML ที่ซ่อน Applet เอาไว้ ทำได้ดังนี้

<HTML>

<HEAD>

<TITLE>My First Applet</TITLE>

</HEAD>

<BODY>

ด้านล่างนี้เป็น Applet แรกของคุณ

<P>

<APPLET code="FirstApplet.class" width=150 height=100>

</APPLET>

</BODY>

</HTML>

 

            Save ไว้ในไฟล์ชื่อ FirstApplet.html แล้วเรียกแสดงผลจาก Browser ได้ดังนี้

 รูป 2-11 แสดงผลลัพธ์ที่ได้จาก FirstApplet

            แต่นอกจากการเรียก Applet ผ่าน Browser แล้ว Java เองก็มีคำสั่งสำหรับการเรียกดู Applet ชั่วคราวเช่นกัน (เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทดสอบโปรแกรมบางครั้ง) คือการใช้คำสั่ง ‘appletviewer’ จากบน Command Prompt (เหมือนกับการรันคำสั่ง ‘java’)

 

appletviewer FirstApplet.html

 

รูป 2-12 แสดงการเรียก Applet ด้วยคำสั่ง ‘appletviewer’