ติดตั้ง JDK (Java Development Kit) 4

ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Window.. 4

ความต้องการของระบบ. 4

การติดตั้งจากไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา 4

ทดสอบการติดตั้ง. 11

การกำหนด PATH ให้กับคำสั่งต่าง ๆ ของ Java. 13

การกำหนดค่าตัวแปร CLASSPATH.. 16

ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ UNIX.. 17

 

บทที่ 2

เตรียมพร้อมก่อนเขียนโปรแกรมกับ Java

ปัจจุบันนี้มีการผลิตโปรแกรมออกมาช่วยในการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวา เพื่อทำให้เกิดความง่ายขึ้น โดยเป็นลักษณะของโปรแกรม Visual ต่าง ๆ ได้แก่

 

Visual Caféเดิมทีอยู่ใต้สังกัด Symantec แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็น WebGain สามารถดาวน์โหลดไปใช้ฟรี 30 วัน ที่ http://www.visualcafe.com/download เหมาะสำหรับทั้งการทำ Application และ การทำ Applet (สนับสนุน Java2 Platform แล้ว)

 

รูป 2-1 เว็บเพ็จสำหรับ visual café

 

 

Java Forteพัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เอง เป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างพัฒนา Java และช่วยในเรื่องของการติดตั้ง Web Service มีบริการให้ดาวน์โหลดไปใช้ฟรีในบางเวอร์ชันที่

http://www.sun.com/forte/ffj/buy.html

 

 

 

Borland JBuilderเป็นซอฟแวร์ประเภทเดียวกันกับ Delphi, Visual Basic หรือ โปรแกรม Visual อื่น ๆ นั่นคือ ช่วยสร้าง source code ภาษาจาวา ผู้ที่ใช้อาจไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมหนักมาก สามารถดาวน์โหลดไปใช้ฟรีชั่วคราว ได้ที่ http://www.borland.com/downloads/

JBuilder UI

รูปที่ 2-2 หน้าตาของ Borland JBuilder ที่มีลักษณะของโปรแกรม Visual

 

                Oracle JDeveloperชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเค้าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร มาจากค่าย Oracle นั่นเอง ดังนั้นจุดแตกต่างก็คงจะเป็นในเรื่องของการเชื่อมต่อฐานข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ มีเวอร์ชันทดลองให้ดาวน์โหลดไปเล่นกันได้ที่

http://technet.oracle.com/software/products/jdev/

 

รูป 2-2-1 แสดง หน้าจอของโปรแกรม Oracle JDeveloper

            หนังสือเล่มนี้ ต้องการที่จะนำเสนอในส่วนของการเขียนโปรแกรมภาษาจาวาตั้งแต่เริ่มต้น จนเป็นแอพพลิเคชั่น ดังนั้นจึงเลือกโปรแกรมพัฒนาที่พื้นฐานที่สุดนั่นคือ JDK ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี 100% ได้ที่ javasoft.com

ติดตั้ง JDK (Java Development Kit)

เวอร์ชันล่าสุดของ JDK ที่ออกมาคือ JDK 1.2 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Java 2 ซึ่งประกอบไปด้วยสอง edition คือ J2SE (Java 2 Platform Standard Edition) และ J2EE (Java 2 Platform Enterprise Edition) ซึ่งสนับสนุนระบบปฏิบัติการดังต่อไปนี้

-         Window 95/ 98 /NT /2000 / Me (Inter Platform)

-         Solaris SPARC/ x86

-         Linux x86

ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Window

            ก่อนการติดตั้ง ควรตรวจสอบก่อนว่าไม่มีโปรแกรมพัฒนาจาวาอื่น ๆ ถูกติดตั้งอยู่ก่อนหน้านี้ เนื่องจากการมีจาวาติดตั้งหลาย ๆ เวอร์ชันอาจก่อให้เกิดปัญหาในการตั้งค่าต่าง ๆ สำหรับการใช้ได้

ความต้องการของระบบ

§         ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ Window 95/ 98 (1st หรือ 2nd Edition) / NT 4.0 คู่กับ Service Pack 5 / Me / 2000 Professional / 2000 Server / 2000 Advance Server

§         CPU Pentium ความเร็วอย่างน้อย 166MHz

§         หน่วยความจำ 48MB (ถ้าโปรแกรมใหญ่ ๆ ก็จะต้องการมากขึ้น)

§         เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 70 MB

การติดตั้งจากไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา

1.       การดาวน์โหลดไฟล์เวอร์ชันล่าสุดได้จาก http://java.sun.com/j2se/1.3 แล้วเลือกคลิกที่ระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้ ในที่นี้เลือก Microsoft Windows

รูป 2-DL-1 หน้าจอสำหรับดาวโหลด java เวอร์ชัน 1.3

 

2.       จากนั้นเลื่อนหน้าจอลงมาจนถึงส่วยของการดาวน์โหลด แล้วคลิก ปุ่ม <continue>

 

รูป 2-DL-2 หน้าจอดาวโหลดสำหรับ Microsoft Window

 

 

3.       จากนั้นมาถึงหน้าจอของการยอมรับเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ ให้เลื่อนลงมาที่ด้านล่างสุดของเพจ แล้วคลิกปุ่ม <Accept>

รูป 2-DL-3 หน้าจอเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์

 

4.       สุดท้ายคือหน้าจอดาวโหลดไฟล์ ปกติแล้วการโหลดแบบ ftp เหมาะกับคนที่ใช้ internet ความเร็วสูง อีกทั้งเป็นไฟล์ขนาดใหญ่ (32MB)ใช้เวลาในการดาวโหลดนาน ในที่นี้แนะนำให้ใช้การดาวโหลดไฟล์แบบ HTTP ซึ่งอยู่ด้านล่าง

รูป 2-DL-4 หน้าจอดาวโหลดไฟล์

 

5.       จากนั้นจะมีหน้าจอถามว่าต้องการ save หรือว่าเปิดไฟล์ขึ้นมาเลย ให้เลือก save ไว้ก่อน แล้วเลือกไดเร็คทอรี หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์ดังรูป

 

รูป 2-DL-5

 

รูป 2-DL-6

 

 

6.       เมื่อดาวโหลดไฟล์ได้สำเร็จ ก็เริ่มติดตั้งโดยคลิกที่ Start à Run เพื่อเรียกประมวลผลไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา

รูป 2-7-0 เรียกประมวลผลไฟล์จาก Run

7.       หรือ ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ j2sdk-1_3_01-win.exe เพื่อเริ่มติดตั้ง (จะทำการแตกไฟล์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการติดตั้งออกมาอัตโนมัติ)

รูป 2-3 การแตกไฟล์ เพื่อเตรียมสำหรับการติดตั้ง

 

8.       หลังจากที่ทำการแตกไฟล์ที่ใช้สำหรับการติดตั้งออกมาพร้อมแล้ว ก็จะเริ่มทำการติดตั้ง Java2 SDK โดยอัตโนมัติจาก รูปนี้ ถ้าต้องการจะลงโปรแกรม ก็ให้คลิก <Next> แต่ถ้าไม่ต้องการก็ให้คลิก <Cancel>

 

รูป 2-7-2 หน้าจอเริ่มแรกของการติดตั้งจริง

 

9.       เพื่อเป็นการยอมรับเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ของการติดตั้งโปรแกรม Java นี้ให้คลิก <Yes> ถ้าคลิก <No> ก็เป็นการออกจากการติดตั้งไปทันที เพราะถือว่าไม่ยอมรับในเงื่อนไขดังกล่าว

รูป 2-7-3 แสดงหน้าจอเงื่อนไขลิขสิทธิ์การนำไปใช้

 

10.    ทำการเลือกไดเรคทอรีที่จะติดตั้งโปรแกรมภาษา โดยจะกำหนดค่าเริ่มต้นไว้ที่ C:\jdk1.3.1_01 ถ้าต้องการเปลี่ยน ให้คลิก <Browse> (บางคนอาจลงโปรแกรมภาษาเอาไว้หลายตัว แล้วเก็บไว้รวมกันใต้ไดเรคทอรีใดที่หนึ่ง) แต่ถ้าพอใจที่จะไว้ที่เดิมตามที่เค้ากำหนดมา ก็ให้คลิก <Next>

 

รูป 2-7-4 แสดงหน้าจอกำหนด ไดเรคทอรีของ JDK

 

11.    จากนั้นจะมีหน้าจอเพื่อถามว่าต้องการจะติดตั้งองค์ประกอบอะไรบ้าง เพราะบางคนอาจมีเนื้อที่จำกัด จึงไม่ต้องการติดตั้ง ระบบการสาธิต หรือ ตัวอย่าง ใด ๆ ลงไป แต่แนะนำว่า ควรจะมี Program Files และ Header File ต่าง ๆ ไว้ นอกนั้น ก็เป็นตัวเลือก

รูป 2-7-5 หน้าจอให้เลือกองค์ประกอบต่าง ๆ

 

12.    เมื่อรอจนการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ นั่นคือ หน้าจอด้านล่างปรากฏขึ้น ให้คลิก <Finish> ก็เป็นอันเสร็จสิ้น โดยอาจจะติ๊กที่ช่อง View Read me ด้วยก็ได้ ถ้าต้องการอ่านข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ JDK

รูป 2-7-6 หน้าจอสุดท้ายของการติดตั้ง JDK

 

ทดสอบการติดตั้ง

                การทดสอบสามารถทำได้โดยการเรียกใช้คำสั่งง่าย ๆ จาก MS-DOS COMMAND

 

1.       Start à Programs à Accessories à Command Prompt

รูป 2-4 เลือกเมนูไปยังโปรแกรม Command Prompt

 

2.       ประมวลผลคำสั่งจาวา ‘java –version’ เพื่อเป็นการแสดงเวอร์ชันของจาวาที่เพิ่งทำการติดตั้งเสร็จ

รูป 2-5 หน้าจอผลลัพธ์ของการทดสอบการติดตั้งง่าย ๆ

 

3.       นอกจากการทดสอบง่าย ๆ ด้วย java –version แล้ว ถ้าต้องการรันคำสั่ง ‘javac’ ที่ใช้ในการคอมไพล์โปรแกรมภาษาจาวา จะต้องมีการอ้างถึง PATH ของ ‘javac’ เองด้วย

รูป 2-PATH-1 ผลลัพธ์จากการประมวลผล javac นอกไดเรคทอรี c:\jdk1.3.1_01\bin

 

รูป 2-PATH-5 แสดงการเรียกประมวลผล ‘javac’ ที่เรียกรวมกับ PATH ของมัน

การกำหนด PATH ให้กับคำสั่งต่าง ๆ ของ Java

                จากที่กล่าวข้างต้นในการเรียกคำสั่งที่ต้องรวม PATH ของมันเข้าไปด้วย จะเห็นว่า ถ้าบางคนวางจาวาเอาไว้ใน PATH ยาว ๆ คงจะต้องพิมพ์กันจนเหนื่อยทุกครั้ง ดังนั้น ถ้ามีการกำหนด PATH ให้กับ Window ไว้ก่อน ก็จะทำให้การประมวลผลคำสั่งนั้น ๆ สามารถทำได้ในทุก ๆ ที่ (โดยไม่ต้องมีการรวม PATH เข้าไป)

                สำหรับผู้ที่ใช้ Window NT / 2000 / XP ทำได้ดังนี้

§         คลิกขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือก Properties (สำหรับ NT/2000/XP) หรือ System Information (สำหรับ Me) แล้วเลือกหัวข้อ ‘Advance’

รูป 2-PATH-2 แสดงการเลือก Properties เมื่อคลิกขวาที่ My Computer

 

§         จากนั้นเลือก ‘Environment Setting’ เนื่องจากเราจะกำหนดค่าให้กับตัวแปร ‘PATH’

 

รูป 2-PATH-3 แสดงหน้าจอหลังจากคลิก Properties ในหัวข้อ Advance

 

§         คลิกที่ PATH ตรงหน้าจอด้านล่าง แล้วเลือก <Edit> แล้วให้เพิ่ม ‘c:\jdk1.3.1_01\bin\’ เข้าไปข้างท้าย โดยคั่นกลางระหว่างค่าที่มีอยู่แล้วด้วยเครื่องหมาย ‘;’

รูป 2-PATH-6 แสดงการแก้ไขตัวแปร PATH

 

§         จากนั้นคลิก <Ok> ค่าที่เพิ่งใส่ไปนี้จะมีผลสำหรับการเปิดใช้ Command Prompt ครั้งต่อไป นั่นหมายความว่า ถ้ามีการเปิดไว้อยู่แล้ว ก็จะไม่มีผล จะต้องปิดไปก่อนแล้วค่อยเปิดใช้อันใหม่

รูป 2-PATH-4 แสดงการเรียกคำสั่ง ‘javac’ จากที่ใดก็ได้หลังการกำหนดค่า PATH

 

การกำหนดค่าตัวแปร CLASSPATH

            การกำหนดตัวแปร CLASSPATH ให้กับระบบตั้งแต่เริ่มต้น เป็นวิธีเดียวที่จะสามารถทำให้ java รู้ว่า CLASS ต่าง ๆ ที่ถูกเรียกใช้นั้น จะถูกเก็บไว้ที่ใด แต่เนื่องจากใน JDK 1.3 นี้จะมีกระบวนการค้นหาอยู่แล้ว ทั้งนี้จึงกำหนดให้เป็น ‘.’ นั่นคือที่ไดเรคทอรีปัจจุบัน โดยวิธีการทำเหมือนกันกับการกำหนดค่า PATH ข้างต้น

            ก่อนการกำหนดค่านั้น ให้สามารถทำการตรวจสอบก่อนว่ามีการกำหนดค่าอยู่แล้วหรือไม่ เนื่องจาก ถ้ามีการติดตั้ง JDK เวอร์ชันอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ อาจทำให้เกิดการค้นหาผิดที่ ดังนั้นถ้ามีการกำหนดค่าอยู่ก่อน ให้ทำการลบค่านั้น ๆ ทิ้งออกให้หมด แล้วค่อยกำหนดค่าใหม่ลงไป

 

                การตรวจสอบง่าย ๆ ทำได้โดยพิมพ์คำสั่ง ‘set’ ที่ Command Prompt

รูป 2-CLASSPATH-1 แสดงผลลัพธ์การพิมพ์คำสั่ง ‘set’

 

 

รูป 2-CLASSPATH-2 แสดงการสร้างค่า CLASSPATH ขี้นมาใหม่ โดยการกด <New>

 

ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ UNIX