Java คืออะไร. 1

ประวัติและความเป็นมา 1

ลำดับขั้นการพัฒนา 2

ทำไมต้องเลือก Java. 2

ทำงานอิสระ (Platform Independent) 3

ความง่ายของตัวภาษา 3

ความปลอดภัย (Security) 3

ความเป็น Object-Oriented Programming Language. 3

Java Application และ Java Applet 3

 

บทที่ 1: รู้จักกับ Java

Java คืออะไร

            Java เป็นโปรแกรมภาษาที่ถูกพัฒนามาเพื่อรองรับการออกแบบซอฟแวร์ที่มีการเชื่อมโยง Internet อีกทั้งยังเป็นโปรแกรมที่สนับสนุนแนวความคิดของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือที่รู้จักกันดีที่เรียกว่า OOP (Object-Oriented Programming) โดยมีความสามารถเฉพาะตัวต่างจากโปรแกรมภาษาชั้นสูง อื่น ๆ เช่น C หรือ C++ ในเรื่องของการทำงานข้ามระบบปฏิบัติการ หรือ Platform ได้โดยไม่ต้องมีการ compile ใหม่

 

            โปรแกรมที่ถูกพัฒนาด้วยภาษา Java ถูกแบ่งเป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ

1.       Java Application – โปรแกรม Java ทั่ว ๆ ไป ที่ทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง (Stand Alone Application)

2.       Java Applet – โปรแกรม Java ที่ถูกนำไปใช้บน Internet เท่านั้น

ประวัติและความเป็นมา

            Java ถูกพัฒนาในปี 1991 โดยบริษัท Sun Microsystems ที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Green Project ซึ่งเป็นการทำวิจัยสำหรับการพัฒนาซอฟแวร์เพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้าน

            กลุ่มนักวิจัยเชื่อว่าผลสำเร็จของการวิจัยนี้จะนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมภาษาที่มีความสามารถ และประสิทธิภาพสูงสุดในได้อนาคต

 

                                                           

 

            จากรูป ใครจะรู้ว่า อนาคต เครื่องปิ้งขนมปังธรรมดา ๆ กับเตารีดไอน้ำที่ทำประโยชน์ในการรีดผ้าให้เรียบเท่านั้น อาจจะมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งผ่านกระบวนการเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้ทั้งสองอุปกรณ์สามารถทำอะไรได้มากกว่าที่เป็น จนกระทั่งมีผลให้การดำเนินชีวิตของคนในยุคอนาคตสะดวกสบายมากขึ้นก็เป็นได้

           

ลำดับขั้นการพัฒนา

            โดยเริ่มแรกในการวิจัยพัฒนาโปรแกรมภาษาดังกล่าว C++ ถูกเลือกใช้ให้เป็นภาษาหลักในการพัฒนา เนื่องจากมีความเป็น OOP อยู่แล้วในตัว แต่แล้วกลุ่มนักวิจัยก็พบว่า C++ มีปัญหาและความไม่เหมาะสมต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น เรื่องของหน่วยความจำที่อาจจะมีเพียงน้อยนิด หรือ ไม่มีเลยในกลุ่มของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ไม่พอกับที่ C++ ต้องการ, เรื่องของระบบปฏิบัติการที่ไม่มีในเครื่องใช้เหล่านี้ หรือไม่ว่าจะเป็นความไม่รัดกุมของภาษาเอง ดังนั้นหนึ่งในกลุ่มนักวิจัย James Gosling ได้คิดค้นภาษาใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาครั้งนี้โดยเฉพาะ ซึ่งมีความเป็น OOP, ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการ และมีการจัดการเรื่องของหน่วยความจำได้ดี เหมาะสมสำหรับการวิจัยครั้งนี้แล้วให้ชื่อว่า OAK

 

Do you know…?

ชื่อโปรแกรมภาษา OAK มีที่มาจาก ต้นไม้ที่ Gosling มองออกไปทางหน้าต่างที่ทำงานของเค้า

           

ภายหลังจากการพัฒนาภาษา OAK ได้สำเร็จ บริษัท Sun ได้นำไปใช้กับบริษัทลูกค้าที่ต้องการพัฒนา Interactive TV ซึ่งเป็นการติดตั้งโปรแกรมลงไปที่กล่องสัญญาณ แล้วต่อพ่วงไปยัง TV เพื่อใช้เป็นตัวควบคุม และติดต่อกับผู้ใช้ แต่โครงการนี้ได้ยุบไปก่อนที่จะพัฒนาสำเร็จ OAK จึงไม่ได้เป็นที่แพร่หลาย OAK จึงถูกเก็บเอาไว้ในคลังการวิจัยของ Sun

            ต่อมาไม่นาน เมื่อการ Internet และ HTML มีการพัฒนา และเป็นที่นิยมมากขึ้น Sun จึงเล็งการไกลถึงการพัฒนา Internet Application ก็เลยนำ OAK ขึ้นมาแก้ไขปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอีกครั้ง แล้วเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น Java ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

            ปัจจุบัน Java มีการพัฒนาออกมารวม ๆ แล้ว 3 เวอร์ชันหลัก ๆ ด้วยกันดังนี้

§        Java 1.0 – เวอร์ชันแรกที่ยังคงสนับสนุนโดย Browser ทั่วไป

§        Java 1.1 – ถูกพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องของ หน้าจอ และ event handling

§        Java 2 – ล่าสุดที่ออกเวอร์ชันเป็นทดสอบในนาม Java 1.2 และ เสร็จสมบูรณ์ในปี 1998

 

Do you know…?

Web Browser ตัวแรกที่สนับสนุน Java หรือ Java Applet คือ WebRunner ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น HotJava ที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน

ทำไมต้องเลือก Java

            ลักษณะเด่นของ Java สามารถจำแนกได้หลัก ๆ ดังนี้

ทำงานอิสระ (Platform Independent)

            มีผู้กล่าวไว้ว่า Java เกิดมาเพื่อการทำงานบน WWW นั่นหมายความว่า Browser จะทำการ download โปรแกรมจาวาจาก server มาทำงานบนโดยตรงอยู่บนเครื่องของผู้เรียกเว็บเพ็จได้เลย โดยไม่คำนึงว่า ระบบปฏิบัติการของผู้ใช้ จะเป็นระบบเดียวกันกับ server ที่ใช้ compile จาวาหรือไม่

 


                                   

 

 

ทั้งนี้ ข้อดีของการ Download โปรแกรมมาใช้งานบนเครื่องของผู้ใช้ก็คือ สามารถลดเวลาในการโหลดโปรแกรมมาจาก server ทุกครั้งที่มีการสั่งการ หรือ Interactive ระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมจาวา จึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับโปรแกรมจาวาบน Internet เป็นอย่างมาก

ความง่ายของตัวภาษา

            หลักไวยากรณ์ของ Java มีความคล้ายคลึงกับภาษา C และ C++ เป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่เหมือนกับภาษาใหม่อื่น ๆ ที่ต้องมาเริ่มศึกษาไวยากรณ์กันทั้งหมด อีกทั้งยังตัดความยากหรือความซับซ้อนต่าง ๆ ของภาษา C และ C++ ออกไป โดยใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาแทนที่มากขึ้น จึงทำให้การพัฒนาในเรื่องของหน้าจอ (Interface) ไม่ใช่เรื่องที่ยาก (จะเห็นจากการนำจาวามาพัฒนาในเรื่องของ Animation และ อื่น ๆ ซึ่งจะกล่าวในบทถัด ๆ ไป)

ความปลอดภัย (Security)

            นั่นคือ เมื่อต้องมีการถูก Download ไปใช้อยู่ในที่ต่าง ๆ ภาษาจาวาจึงมีการกำหนดข้อจำกัดบางอย่างขึ้น เพื่อไม่ให้การรันโปรแกรมนั้น ๆ ไปก่อให้เกิดความเสียหายบนเครื่องของผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงสามารถลืมบรรดา Hacker ทั้งหลายที่รักการเขียนโปรแกรมก่อกวนไปได้ในระดับหนึ่ง